สร้างธุรกิจของคุณให้เติบโตไปพร้อมๆ กับการช่วยลดปริมาณคาร์บอน

คุณสามารถบริจาครายรับเล็กน้อยเพื่อช่วยเพิ่มเทคโนโลยีการขจัดคาร์บอนได้ในไม่กี่คลิกผ่าน Stripe Climate มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจที่มุ่งมั่นซึ่งกำลังเติบโตเพื่อเปลี่ยนแปลงแนวทางการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ลงทะเบียนได้ใน 1 นาที

แบ่งปันรายรับเล็กน้อยของบริษัทเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีที่การขจัดคาร์บอนแบบถาวรได้จากแดช⁠บอร์ดโดยตรงในไม่กี่คลิก

มอบเงินสนับสนุนการขจัดคาร์บอนถาวร

เราจะนำเงินคุณที่บริจาค 100% ไปช่วยในการขจัดคาร์บอน โครงการขจัดคาร์บอนได้รับการจัดหาและตรวจสอบโดย Frontier ซึ่งเป็นทีมผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ภายในของ Stripe

แชร์ได้ง่ายๆ

แจ้งให้ลูกค้าของคุณทราบผ่านป้ายแบบใหม่ ซึ่งอัปเดตโดยอัตโนมัติในการชำระเงิน ใบเสร็จ และใบแจ้งหนี้ในระบบของ Stripe ชุดเนื้อหาของเราจะช่วยให้คุณนำป้ายไปใช้งานได้ง่ายๆ ในทุกตำแหน่งของหน้าเว็บไซต์

พร้อมให้บริการแก่ธุรกิจทั่วโลกแล้ว

การขจัดคาร์บอนในวงกว้างต้องใช้ความพยายามจากหลายภาคส่วนในระดับสากล ขณะนี้ Stripe Climate พร้อมให้บริการแก่ผู้ใช้ Stripe ทั่วโลกในเวอร์ชันเบต้าแล้ว

ผู้สนับสนุนในระยะแรก

เข้าร่วมกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีความมุ่งมั่น

ผู้สนับสนุนในระยะแรกที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กำลังช่วยเปลี่ยนแนวทางการขจัดคาร์บอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อขจัดคาร์บอน

การขจัดคาร์บอนคือหัวใจสำคัญในการลดผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ

เราต้องจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกไม่ให้สูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมเกิน 1.5°C เพื่อป้องกันผลกระทบของภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ซึ่งหมายความว่าต้องลดการปล่อย CO₂ ทั่วโลกจาก 40 กิกะตันต่อปีในปี 2018 ให้เหลือศูนย์ภายในปี 2050

หากต้องการบรรลุเป้าหมายนี้ ทั่วโลกต้องช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนใหม่ในอากาศ และต้องกำจัดก๊าซคาร์บอนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศด้วย

เส้นทางการจำกัดอุณหภูมิทั่วโลกไม่ให้เพิ่มสูงกว่า 1.5°C
จำกัดอุณหภูมิทั่วโลกไม่ให้เพิ่มสูงกว่า:
การปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ผ่านมา เส้นทางการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิให้ไม่เกิน 2°C เส้นทางการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิให้ไม่เกิน 1.5°C เส้นทางปัจจุบัน
การจัดคาร์บอนคือการจำกัดอุณหภูมิทั่วโลกไม่ให้เพิ่มสูงกว่า 1.5°C
การปล่อยก๊าซคาร์บอนในช่วงที่ผ่านมาตามข้อมูลจาก Global Carbon Project1 ใน "เส้นทางปัจจุบัน" เผยว่ามีการใช้วิธีการขจัดคาร์บอนแบบ SSP4-6.02,3 ที่ปรับใช้จาก CICERO4 ตารางนี้จะแสดงเฉพาะ CO₂ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ทั้งนี้สถานการณ์จำลองจะพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ ทั้งหมดที่จำเป็นต้องลดปริมาณ

อย่างไรก็ตาม การขจัดคาร์บอนยังมีความคืบหน้าไม่มากนัก

วิธีขจัดคาร์บอนในปัจจุบันยังคงมีความจำเป็น เช่น การปลูกป่าและการรักษาหน้าดิน แต่การใช้วิธีเหล่านี้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาในวงกว้าง ส่วนเทคโนโลยีการขจัดคาร์บอนใหม่ๆ ซึ่งมีแนวโน้มครอบคลุมในวงกว้างและใช้ต้นทุนต่ำภายในปี 2050 ยังต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาเนื่องจากยังไม่สมบูรณ์

ทุกวันนี้โซลูชันการขจัดคาร์บอนต้องเผชิญกับปัญหาที่ยังหาทางออกไม่ได้ และยังมีราคาสูงเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นจึงดึงดูดลูกค้าในวงกว้างได้ไม่มากนัก ซึ่งหากไม่มีการใช้งานในอย่างแพร่หลาย ก็จะลดต้นทุนในการผลิตให้ต่ำลงไม่ได้

ผู้สนับสนุนระยะแรกช่วยเปลี่ยนแนวทางการขจัดคาร์บอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

ผู้สนับสนุนระยะแรกสามารถช่วยลดต้นทุนของเทคโนโลยีขจัดคาร์บอนและเพิ่มยอดใช้งานได้ การศึกษาเส้นโค้งการเรียนรู้และเส้นโค้งประสบการณ์สำหรับกระบวนการผลิตชี้ให้เห็นหลายครั้งว่าการใช้งานและขอบเขตที่กว้างช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา ซึ่งปรากฏการณ์นี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วในการลำดับ DNA, ความจุของฮาร์ดไดรฟ์ และพลังงานแสงอาทิตย์

แนวคิดนี้ก่อให้เกิดการซื้อครั้งแรกของ Stripe และในท้ายที่สุดก็นำเราไปสู่การเปิดตัว Frontier ซึ่งเป็นสัญญาการซื้อล่วงหน้า (AMC) สำหรับการซื้อการขจัดคาร์บอน โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งสัญญาณด้านความต้องการที่แข็งแกร่งไปสู่นักวิจัย ผู้ประกอบการ และนักลงทุนว่าตลาดสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังเติบโต เรามีความเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนทิศทางของอุตสาหกรรมนี้และเพิ่มโอกาสที่โลกของเราจะมีโซลูชันต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อป้องกันผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การแสดงเส้นโค้งประสบการณ์จาก Santa Fe Institute5 ซึ่งมีการปรับแต่งรูปแบบ

วิธีการระดมทุน

พอร์ตโฟลิโอของเราและผู้ตรวจสอบด้านวิทยาศาสตร์

Stripe Climate ทำงานร่วมกับ Frontier ซึ่งเป็นทีมผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และการพาณิชย์ภายในของ Stripe ที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีการขจัดคาร์บอนโดยเฉพาะเพื่อซื้อการขจัดคาร์บอนถาวร Frontier มีที่ปรึกษาเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากหลากหลายสาขาวิชาในการประเมินเทคโนโลยีการขจัดคาร์บอนที่น่าจะให้ประสิทธิภาพสูงสุด สำรวจพอร์ตโฟลิโอโครงการของเราที่ขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อ่านเกณฑ์ที่เราใช้คัดเลือกเทคโนโลยีดังกล่าว หรือดูใบสมัครเข้าร่วมสำหรับโครงการแบบโอเพนซอร์ส

เกณฑ์เป้าหมาย

ดูเกณฑ์ที่เราใช้เพื่อประเมินโครงการ

ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ

ดูใบสมัครเข้าร่วมโครงการโอเพนซอร์ส

พอร์ตโฟลิโอของเรา

โครงการในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2022

Arbor กำลังพัฒนาระบบแบบแยกส่วนได้ที่มีขนาดกะทัดรัดเพื่อใช้ขจัดและกักเก็บคาร์บอนจากชีวมวล (BiCRS) ระบบนี้ขจัดคาร์บอนโดยการแปรสภาพของเสียชีวมวลให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ไฟฟ้า แล้วกักเก็บ CO₂ ไว้ใต้ดินอย่างถาวร เทคโนโลยีของบริษัทผสานเตาก๊าซซิไฟเออร์ที่ทำงานได้อย่างยืดหยุ่นกับชีวมวลหลายประเภทเข้ากับกังหันล้ำสมัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางไฟฟ้าในระดับสูงสุด โดยระบบแยกส่วนของ Arbor นำไปใช้งานได้รวดเร็วและออกแบบมาให้มีต้นทุนการผลิตน้อยกว่าวิธีการอื่นๆ อย่างมาก

พลังงานชีวภาพที่มีคุณสมบัติการดักจับและกักเก็บคาร์บอน

Acra ดักจับ CO₂ ในชั้นบรรยากาศมาเปลี่ยนสภาพให้กลายเป็นหิน โครงการทำงานร่วมกับผู้ผลิตโลหะที่มีความสำคัญเพื่อเปลี่ยนของเสียจากเหมืองแร่ให้กลายเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนขนาดใหญ่ และนำยานแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติมาใช้กับกระบวนการเปลี่ยนคาร์บอนเป็นแร่ธาตุ ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติในการกักเก็บ CO₂ อย่างถาวรในรูปของแบบแร่คาร์บอเนตชนิดใหม่ นอกจากนี้ การสร้างระบบที่ทำงานภายในเหมืองแร่โดยตรงยังช่วยให้ Carbin Minerals หลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายและการปล่อยคาร์บอนจากการขนย้ายวัสดุไปยังโรงงานแปรรูปอีกด้วย

การเร่งกระบวนการสลายของแร่ธาตุโดยใช้ผงหิน

Captura ใช้พลังของมหาสมุทรมาสร้างกระบวนการกำจัดในแบบที่ขยายขอบเขตการดำเนินงานได้ บริษัทออกแบบกระบวนการทางไฟฟ้าเคมีที่จะแยกกรดและเบสออกจากน้ำทะเล จากนั้นกรดจะถูกนำไปขจัด CO₂ ที่อยู่ในน้ำทะเลและอัดฉีดลงไปยังแหล่งกักเก็บถาวรใต้พื้นดิน ส่วนเบสจะนำมาใช้บำบัดน้ำทะเลส่วนที่เหลืออย่างปลอดภัยก่อนจะปล่อยกลับคืนสู่มหาสมุทร หลังจากนั้น มหาสมุทรจะดึง CO₂ จากบรรยากาศมาเก็บไว้ในน้ำทะเลต่อไป ปัจจุบัน Captura กำลังพัฒนาวัสดุเยื่อเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางไฟฟ้าและลดค่าใช้จ่ายในการขจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การดักจับคาร์บอนในน้ำทะเลโดยตรง

Carbon To Stone กำลังพัฒนาแนวทางใหม่ในการดักจับคาร์บอนจากอากาศโดยตรง โดยใช้วิธีการทำปฏิกิริยากับของเสียที่มีคุณสมบัติเป็นด่างเพื่อสร้างตัวทำละลายที่จะเข้าไปจับกับ CO₂ ทีมงานลดการใช้พลังงานลงได้อย่างมากและประหยัดต้นทุนตามไปด้วยเมื่อใช้วิธีการเปลี่ยนของเสียต้นทุนต่ำที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง เช่น ตะกรันเหล็ก ให้เป็นแร่ธาตุโดยตรงแทนการใช้วิธีแบบเก่ามาสร้างตัวทำละลายซึ่งต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อนหรือแรงดัน ยิ่งไปกว่านั้น CO₂ ยังกักเก็บไว้ได้อย่างยาวนานในรูปของวัสดุคาร์บอเนตที่นำไปใช้เป็นซีเมนต์ทางเลือกได้

การดักจับคาร์บอนในอากาศโดยตรง

Cella เพิ่มตัวเลือกในการกักเก็บคาร์บอนอย่างปลอดภัยและมั่นคงด้วยกระบวนการเปลี่ยนแร่ธาตุ ในธรรมชาติ CO₂ จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นแร่ธาตุของแข็งอยู่แล้ว ซึ่งโครงการนี้เร่งกระบวนการดังกล่าวโดยการฉีด CO₂ เข้าไปในหินภูเขาไฟร่วมกับน้ำเกลือและน้ำเค็มร้อนจากใต้พิภพที่เหลือทิ้งด้วยวิธีการที่ลดต้นทุนและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เทคโนโลยีของ Cella นำความร้อนใต้พิภพที่มีคาร์บอนต่ำมาใช้ และสามารถใช้ร่วมกับวิธีการดักจับคาร์บอนได้หลายวิธีด้วยกัน

การกักเก็บ - การเปลี่ยนแร่ธาตุทางธรณีวิทยา

CREW กำลังสร้างเครื่องปฏิกรณ์เฉพาะทางเพื่อใช้เร่งกระบวนการสลายของแร่ธาตุในธรรมชาติ ระบบดังกล่าวต้องใช้ภาชนะและจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อเร่งการสลายตัวของแร่อัลคาไลน์ น้ำที่ปล่อยออกมาจะกักเก็บ CO₂ จากน้ำเสียไว้อย่างปลอดภัยและถาวรในรูปของไอออนไบคาร์บอเนตในมหาสมุทร ระบบของ CREW ช่วยให้วัดปริมาณ CO₂ ที่ขจัดออกไปได้ง่ายขึ้น และทำปฏิกิริยากับ CO₂ จากแหล่งต่างๆ ได้ รวมถึงการดักจับจากอากาศโดยตรงและระบบชีวมวล ซึ่งช่วยยกระดับการทำงานในระดับที่ใหญ่ขึ้น

การเร่งกระบวนการสลายของแร่ธาตุโดยใช้ผงหิน

Inplanet เร่งกระบวนการสลายของแร่ธาตุในธรรมชาติเพื่อกักเก็บ CO₂ อย่างถาวรและสร้างดินในพื้นที่เขตร้อนขึ้นมาใหม่ โครงการร่วมมือกับเกษตรกรเพื่อโรยผงหินซิลิกาที่ปลอดภัยในสภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้น ส่งผลให้การสลายของแร่ธาตุเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิมและทำให้ลดปริมาณ CO₂ เร็วขึ้นด้วย ปัจจุบัน ทีมงานกำลังพัฒนาสถานีตรวจติดตามเพื่อสร้างข้อมูลการทดลองภาคสนามสาธารณะที่ช่วยให้โครงการเข้าใจมากขึ้นว่าอัตราการสลายของแร่ธาตุผันแปรไปอย่างไรบ้างในสภาพดินและอากาศแบบร้อนชื้นในพื้นที่ต่างๆ ของบราซิล

การเร่งกระบวนการสลายของแร่ธาตุโดยใช้ผงหิน

Kodama และ e Carbon Containment Lab กำลังพิสูจน์แนวคิดการกักเก็บชีวมวลไม้เหลือทิ้งโดยการฝังไว้ในห้องใต้ดินในสภาพที่ปราศจากออกซิเจนเพื่อป้องกันการย่อยสลาย ทีมงานจะทดลองว่าสภาพห้องใต้ดินและสิ่งรบกวนเหนือพื้นดินจะส่งผลต่อความทนทานและความเสี่ยงย้อนกลับอย่างไรบ้าง

การฝังกลบชีวมวล

Nitricity กำลังสำรวจความเป็นไปได้ในการผสานรวมการขจัดคาร์บอนเข้าไปในกระบวนการแบบใหม่สำหรับการผลิตปุ๋ยแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใช้ระบบไฟฟ้า โดยกระบวนการนี้จะนำสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นกลางทางคาร์บอน หินฟอสเฟต และ CO₂ มารวมเข้าด้วยกันเพื่อผลิตไนโตรเจนฟอสเฟตสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยและกัก CO₂ ไว้อย่างยาวนานในรูปของหินปูน แนวทางแบบใหม่นี้เป็นวิธีการกักเก็บคาร์บอนต้นทุนต่ำที่เหมาะสำหรับกระแส CO₂ เจือจาง และให้ประโยชน์อีกประการหนึ่งควบคู่กัน นั่นคือ ลดการสร้างคาร์บอนในอุตสาหกรรมปุ๋ย

การกักเก็บ - การเปลี่ยนแร่ธาตุบนผิวดิน

โครงการในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2022

AspiraDAC กำลังสร้างระบบดักจับอากาศโดยตรงแบบแยกส่วนที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีแหล่งจ่ายพลังงานติดตั้งอยู่บนโมดูล สารดูดซับแบบโครงข่ายโลหะ−สารอินทรีย์ในระบบดังกล่าวใช้อุณหภูมิต่ำในการทำความร้อน และอาจเป็นแนวทางที่ช่วยให้ค่าวัสดุถูกลง นอกจากนี้ ระบบแบบแยกส่วนยังเอื้อต่อการนำไปทดลองในขอบเขตที่กว้างขึ้นด้วย

การดักจับคาร์บอนในอากาศโดยตรง

กระบวนการสลายของแร่ธาตุในธรรมชาติสามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณหลายกิกะตัน Lithos ช่วยเร่งกระบวนการดังกล่าวโดยโรยผงหินบะซอลต์ในพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณคาร์บอนอนินทรีย์ที่สามารถละลายน้ำได้ภายในดิน เทคโนโลยีของบริษัทใช้โมเดลดินแบบใหม่และการเรียนรู้ของเครื่องจักรมาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พร้อมทั้งเร่งการเติบโตของพืช ปัจจุบัน ทีมงานกำลังขยายขอบเขตการยืนยันในเชิงประจักษ์ เครือข่ายแม่น้ำ และการศึกษาเนื้อเยื่อพืช เพื่อพัฒนาแนวทางการวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ขจัดออกจากพื้นที่และผลกระทบต่อระบบนิเวศ

การเร่งกระบวนการสลายของแร่ธาตุโดยใช้ผงหิน

Travertine กำลังรื้อปรับกระบวนการผลิตทางเคมีเพื่อขจัดคาร์บอน โดยใช้กระบวนการไฟฟ้าเคมีในการผลิตกรดซัลฟิวริกเพื่อนำมาเร่งกระบวนการสลายของหางแร่จากเหมืองอัลทราเมฟิก ซึ่งจะปล่อยธาตุที่สามารถเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศให้กลายเป็นแร่คาร์บอเนตที่มีความเสถียรตามมาตรธรณีกาลได้ กระบวนการดังกล่าวจะเปลี่ยนของเสียในเหมืองแร่ให้กลายเป็นแหล่งทรัพยากรเพื่อการกำจัดคาร์บอน อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบสำหรับเทคโนโลยีการเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดอย่างเช่นแบตเตอรี่ด้วย

การเร่งกระบวนการสลายของแร่ธาตุโดยใช้ผงหิน

RepAir ใช้ไฟฟ้าสะอาดมาดักจับ CO₂ ในอากาศโดยใช้เซลล์ทางไฟฟ้าเคมีแบบใหม่ และได้ร่วมมือกับ Carbfix เพื่อกักเก็บและเปลี่ยน CO₂ ใต้พื้นดินให้กลายเป็นแร่ธาตุ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในขั้นตอนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ของ RepAir นั้นโดดเด่นมากและยังคงก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวยังอาจช่วยให้เรามีวิธีการกำจัดคาร์บอนที่ใช้ต้นทุนต่ำ ซึ่งจะช่วยลดความกดดันในการผลิตไฟฟ้าลงได้

การดักจับคาร์บอนในอากาศโดยตรง

โครงการนี้เป็นการร่วมมือกันระหว่าง 8 Rivers กับ Origen และจะช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนรูปของคาร์บอนในธรรมชาติโดยใช้ปูนขาวที่ไวต่อปฏิกิริยามาสัมผัสกับอากาศโดยรอบเพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แร่คาร์บอเนตที่เกิดจะถูกทำให้ร้อนขึ้นเพื่อสร้างกระแสก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้นและนำมากักเก็บไว้ใต้พื้นพิภพ แล้วหมุนเวียนเป็นวัฏจักรต่อเนื่อง ซึ่งการใช้วัสดุราคาไม่แพงบวกกับการใช้ระยะเวลาไม่นานในแต่ละรอบทำให้แนวทางนี้มีศักยภาพในการดักจับคาร์บอนด้วยราคาย่อมเยาในระดับที่สูงขึ้น

การดักจับคาร์บอนในอากาศโดยตรง

Living Carbon ต้องการถอดรหัสพันธุกรรมสาหร่ายที่สามารถผลิตสปอโรพอลเลนินได้อย่างรวดเร็ว สปอโรพอลเลนินคือโพลิเมอร์ชีวภาพที่มีความทนทานสูง สามารถตากแห้ง เก็บเกี่ยว และจัดเก็บไว้ได้นาน การวิจัยเบื้องต้นมีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจแนวคิดของอุตสาหกรรมเกี่ยวกับความทนทานของสปอโรพอลเลนินมากขึ้น รวมถึงสายพันธ์ุสาหร่ายที่ผลิตสารนี้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการนำเครื่องมือทางชีววิทยาแบบสังเคราะห์มาใช้ถอดรหัสระบบในธรรมชาติเพื่อสร้างวัสดุดักจับคาร์บอนที่แข็งแร่งทนทานและดีกว่าเดิม อาจพัฒนากลายเป็นแนวทางกำจัดคาร์บอนที่มีต้นทุนต่ำและนำไปใช้งานในสเกลที่ใหญ่ขึ้นได้

ชีววิทยาสังเคราะห์

ผู้ตรวจสอบทางเทคนิค

Brentan Alexander, PhD

Tuatara Advisory
การนำเทคโนโลยีเข้าสู่ตลาด

Stephanie Arcusa, PhD

Arizona State University
การกำกับดูแล

Habib Azarabadi, PhD

มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตท
การดักจับจากอากาศโดยตรง

Damian Brady, PhD

Darling Marine Center University of Maine
ความเชี่ยวชาญด้านมหาสมุทร

Robert Brown, PhD

Iowa State University
ถ่านชีวภาพ

Holly Jean Buck, PhD

มหาวิทยาลัยบัฟฟาโล
การกำกับดูแล

Liam Bullock, PhD

Geosciences Barcelona
ธรณีเคมี

Wil Burns, PhD

มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น
การกำกับดูแล

Micaela Taborga Claure, PhD

Repsol
การดักจับจากอากาศโดยตรง

Struan Coleman

Darling Marine Center University of Maine
ความเชี่ยวชาญด้านมหาสมุทร

Niall Mac Dowell, PhD

Imperial College London
ชีวมวล / พลังงานชีวภาพ

Anna Dubowik

Negative Emissions Platform
การกำกับดูแล

Petrissa Eckle, PhD

ETH Zurich
ระบบพลังงาน

Erika Foster, PhD

Point Blue Conservation Science
นิเวศวิทยาในระบบนิเวศ

Matteo Gazzani, PhD

Utrecht University Copernicus Institute of Sustainable Development
การดักจับจากอากาศโดยตรง

Lauren Gifford, PhD

University of Arizona’s School of Geography, Development & Environment
การกำกับดูแล

Sophie Gill

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
ความเชี่ยวชาญด้านมหาสมุทร

Emily Grubert, PhD

University of Notre Dame
การกำกับดูแล

Steve Hamburg, PhD

Environmental Defense Fund
นิเวศวิทยาในระบบนิเวศ

Booz Allen Hamilton

Energy Technology Team
ชีวมวล / การดักจับคาร์บอนจากอากาศโดยตรง

Jens Hartmann, PhD

Universität Hamburg
ธรณีเคมี

Anna-Maria Hubert, PhD

University of Calgary Faculty of Law
การกำกับดูแล

Lennart Joos, PhD

Out of the Blue
ความเชี่ยวชาญด้านมหาสมุทร

Marc von Keitz, PhD

มูลนิธิ Grantham เพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม
มหาสมุทร / ชีวมวล

Yayuan Liu, PhD

Johns Hopkins University
ไฟฟ้าเคมี

Matthew Long, PhD

ศูนย์วิจัยชั้นบรรยากาศแห่งชาติ
ความเชี่ยวชาญด้านมหาสมุทร

Susana García López, PhD

มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์
การดักจับจากอากาศโดยตรง

Kate Maher, PhD

สถาบันสแตนฟอร์ดวูดส์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ธรณีเคมี

John Marano, PhD

JM Energy Consulting
การนำเทคโนโลยีเข้าสู่ตลาด

Dan Maxbauer, PhD

Carleton College
ธรณีเคมี

Alexander Muroyama, PhD

สถาบันพอล เชอร์เรอร์
ไฟฟ้าเคมี

Sara Nawaz, PhD

University of Oxford
การกำกับดูแล

Rebecca Neumann, PhD

University of Washington
ถ่านชีวภาพ / ธรณีเคมี

NexantECA

Energy Technology Team
ชีวมวล / การดักจับคาร์บอนจากอากาศโดยตรง

Daniel Nothaft, PhD

มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
การเปลี่ยนแร่ธาตุ

Simon Pang, PhD

Lawrence Livermore National Laboratory
การดักจับจากอากาศโดยตรง

Teagen Quilichini, PhD

Canadian National Research Council
ชีววิทยา

Zach Quinlan

สถาบันสมุทรศาสตร์สคริปส์
ความเชี่ยวชาญด้านมหาสมุทร

Mim Rahimi, PhD

University of Houston
ไฟฟ้าเคมี

Vikram Rao, PhD

Research Triangle Energy Consortium
การเปลี่ยนแร่ธาตุ

Paul Reginato, PhD

Innovative Genomics Institute at UC Berkeley
เทคโนโลยีชีวภาพ

Debra Reinhart, PhD

University of Central Florida
การจัดการของเสีย

Phil Renforth, PhD

มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์
การเปลี่ยนแร่ธาตุ

Sarah Saltzer, PhD

ศูนย์ขจัดคาร์บอนแห่งสแตนฟอร์ด
การกักเก็บทางภูมิศาสตร์

Saran Sohi, PhD

University of Edinburgh
ถ่านชีวภาพ

Mijndert Van Der Spek, PhD

มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์
การดักจับจากอากาศโดยตรง

Max Tuttman

The AdHoc Group
การนำเทคโนโลยีเข้าสู่ตลาด

Shannon Valley, PhD

สถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์โฮล
ความเชี่ยวชาญด้านมหาสมุทร

Jayme Walenta, PhD

University of Texas, ออสติน
การกำกับดูแล

Frances Wang

ClimateWorks Foundation
การกำกับดูแล

Fabiano Ximenes, PhD

New South Wales Department of Primary Industries
ชีวมวล / พลังงานชีวภาพ

คำถามที่พบบ่อย

ดูคำตอบของคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Stripe Climate