เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน (SET:CRC)
อุตสาหกรรมค้าปลีก
ก่อตั้งพ.ศ. 2490
ผู้ก่อตั้งเตียง จิราธิวัฒน์
สำนักงานใหญ่1027 อาคารเซ็นทรัล ชิดลม ทาวเวอร์ ชั้น 7 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลัก
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
สุทธิชัย จิราธิวัฒน์
สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์
สุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์
ยุวดี จิราธิวัฒน์
สุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์
ปริญญ์ จิราธิวัฒน์
ทศ จิราธิวัฒน์
พิชัย จิราธิวัฒน์
ญนน์ โภคทรัพย์
ผลิตภัณฑ์ศูนย์การค้า ร้านอาหาร
รายได้206,078 ล้านบาท (ณ 31 ธันวาคม 2561)
ส่วนของผู้ถือหุ้น6,031,000,000 หุ้น
บริษัทย่อยบจ. สรรพสินค้าเซ็นทรัล
บมจ. โรบินสัน
บจ. เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล
บจ. เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท
บจ. เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้ง
บจ. ซีอาร์ซี ไทวัสดุ
บมจ. ซีโอแอล
บจ. เซ็นทรัล เวียดนาม
เว็บไซต์เว็บไซต์เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ย่อ: CRC) เป็นบริษัทสำหรับการลงทุน ดูแล และบริหารธุรกิจค้าปลีกในกลุ่มเซ็นทรัล โดยเป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อปรับโครงสร้างการบริหาร และจัดการบริหารภายในเพื่อรองรับการเข้าตลาดทุนใน พ.ศ. 2563 อันมีผลให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสิ้นสุดความเป็นธุรกิจครอบครัว และยังทำให้ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สิ้นสุดการเป็นบริษัทมหาชน

ประวัติ[แก้]

ดูเพิ่มเติมที่: กลุ่มเซ็นทรัล

บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง หรือชื่อการค้า ห้างเซ็นทรัล ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2490 โดย เตียง จิราธิวัฒน์ (นี่เตียง แซ่เจ็ง) และ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ (ฮกเส่ง แซ่เจ็ง) บุตรชายคนโต เป็นร้านค้าตึกแถวครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้นขนาด 1 คูหา ปากตรอกกัปตันบุช ย่านสี่พระยา จำหน่ายหนังสือ รวมทั้ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และ เครื่องสำอาง ทั้งสินค้าในประเทศและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยเซ็นทรัล เป็นกิจการใหม่ ที่สานต่อจากกิจการร้านชำ เข่งเซ่งหลี ย่านบางขุนเทียน ของเตียง

จากนั้นใน พ.ศ. 2500 เตียง ได้ร่วมทุนกับบุตรชายทั้งสามคน อันได้แก่ สัมฤทธิ์, วันชัย และ สุทธิพร เปิดทำการห้างสรรพสินค้าเต็มรูปแบบที่ย่านวังบูรพา อันเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ห้างเซ็นทรัลจึงได้จัดตั้ง เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น เพื่อเป็นบริษัทสำหรับดูแลภาพรวมในกลุ่มธุรกิจค้าปลีก ต่อมาบริษัทแห่งนี้ได้เข้าซื้อกิจการและร่วมทุนในกิจการต่าง ๆ มากมาย อาทิ ซื้อกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสันจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ร่วมทุนกับกลุ่มอิมพีเรียลเพื่อก่อตั้งห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ร่วมทุนกับ Carrefour Netherlands B.V. เพื่อก่อตั้งห้างคาร์ฟูร์ ในประเทศไทย และร่วมทุนกับ Royal A.Hold เพื่อซื้อสิทธิ์การบริหาร ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก Tops Markets LLC. เป็นต้น

ต่อมาใน พ.ศ. 2558 กลุ่มเซ็นทรัล ภายใต้การบริหารของทายาทจิราธิวัฒน์รุ่นที่สามอย่าง ทศ จิราธิวัฒน์ ได้มีการจัดระเบียบและจัดกลุ่มธุรกิจภายในบริษัทใหม่ทั้งหมด ส่งผลให้ทางกลุ่มลดความสำคัญของ เซ็นทรัล รีเทล ลง เหลือเพียงบริษัทโฮลดิ้งในการถือหุ้นโรบินสันเท่านั้น อย่างไรก็ตามด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับการสร้างความน่าเชื่อถือในตลาดทุนระดับนานาชาติ กลุ่มเซ็นทรัล ได้ตัดสินใจปรับโครงสร้างใหม่อีกครั้ง โดยฟื้นฟูสภาพของ เซ็นทรัล รีเทล กลับมาใหม่และรวมกลุ่มธุรกิจหลักที่ยังไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ให้อยู่ภายใต้การดูแลของ เซ็นทรัล รีเทล และเริ่มแผนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์จากการประกาศซื้อหุ้นของห้างสรรพสินค้าโรบินสันทั้งหมด และรวมผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัทเข้าเป็นบริษัทเดียวกันใน พ.ศ. 2562 หุ้น CRC เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ได้ 20 กุมภาพันธ์ 2563[1]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่[แก้]

  • ข้อมูล ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[2]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด 2,114,284,890 35.06%
2 SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED 252,455,601 4.19%
3 Hawthorn Resources Limited 251,714,300 4.17%
4 สำนักงานประกันสังคม 115,450,666 1.91%
5 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 115,147,890 1.91%

หน่วยธุรกิจ[แก้]

ภายหลังการปรับโครงสร้างใน พ.ศ. 2562 เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในกิจการอื่นกว่า 130 บริษัท และแบ่งประเภทการประกอบธุรกิจออกเป็น 4 ด้าน ดังต่อไปนี้[3]

กลุ่มแฟชั่น[แก้]

ตราสัญลักษณ์ ลักษณะ จำนวนสาขา สาขาเรือธง
เซ็นทรัล และ โรบินสัน
(บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด)
ตราสัญลักษณ์การค้าหลักของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล นำเสนอสินค้านานาประเภทให้กับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายร่วมการบริการคุณภาพแก่ลูกค้าตามกลุ่มเป้าหมายทั้งเมืองหลักและเมืองรอง ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับหนึ่งในด้านจำนวนสาขา พื้นที่ขาย และส่วนแบ่งทางการตลาด 74 เซ็นทรัล ชิดลม (เซ็นทรัล)
เซ็นทรัล พระราม 9 (โรบินสัน)
ซูเปอร์สปอร์ต
(บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด)
เครือข่ายร้านจำหน่ายสินค้ากีฬาเฉพาะทางขนาดกลาง-ใหญ่ โดยเน้นจำหน่ายสินค้าคุณภาพให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม ทุกประเภท 192 เซ็นทรัลเวิลด์
เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง
(บริษัท เซ็นทรัล เทรดดิ้ง จำกัด)
เครือข่ายและผู้แทนจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง รวมถึงร้านค้าแบบเดี่ยว 284 -
ห้างสรรพสินค้ารินาเชนเต
(La Rinascente S.p.A)
ตราสัญลักษณ์การค้าระดับไฮเอนด์ของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ในประเทศอิตาลี 9 รีนาเซนเต กรุงโรม

กลุ่มฮาร์ดไลน์[แก้]

ตราสัญลักษณ์ ลักษณะ จำนวนสาขา สาขาเรือธง
ไทวัสดุ และ บ้านแอนด์บียอนด์
(บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด)
ตราสัญลักษณ์การค้าหลักของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ซึ่งจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้าน และการปรับปรุงภายในบ้าน 53 บางนา ก.ม. 8 (ไทวัสดุ)
เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต (บ้านแอนด์บียอนด์)
เพาเวอร์บาย
(บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด)
ตราสัญลักษณ์การค้าหลักของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ซึ่งจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านสำหรับผู้บริโภค 109 เซ็นทรัลเวิลด์
เหงียนคิม
(Nguyen Kim Trading Joint Venture)
เครือข่ายร้านจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอิเลคทรอนิกส์ขนาดกลาง-ใหญ่ในประเทศเวียดนาม 64
ออฟฟิศเมท
(บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ออฟฟิศ คลับ (ไทย) จำกัด)
ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าทั้งในรูปแบบการค้าปลีกและค้าส่ง โดยครอบคลุมทั้งอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานและเฟอร์นิเจอร์ ขายผ่านหน้าร้านสาขาภายใต้ชื่อ "ออฟฟิศเมท" และร้านแฟรนไชส์สะดวกซื้อสำหรับองค์กรภายใต้ชื่อ "ออฟฟิศเมท พลัส" และขายผ่านระบบคอลเซ็นเตอร์ ระบบออนไลน์ ระบบสั่งซื้ออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะแต่ละองค์กร (e-Procurement) 84 เซ็นทรัล แอท เมกาบางนา (ออฟฟิศเมท)
หัวหิน (ออฟฟิศเมท พลัส)
บีทูเอส และ ธิงค์สเปซ บีทูเอส
(บริษัท บีทูเอส จำกัด)
ประกอบธุรกิจร้านจำหน่ายเครื่องเขียน หนังสือ สื่อบันเทิง เพลง ภาพยนตร์ และสินค้าไลฟ์สไตล์ผ่านหน้าร้านสาขาภายใต้ชื่อ "บีทูเอส" และ "ธิงค์สเปซ บีทูเอส" และขายผ่านระบบออนไลน์ 122 เซ็นทรัลเวิลด์
เมพ คอร์ปอเรชั่น
(บริษัท เมพ คอร์ปอเรชั่น จำกัด)
ประกอบธุรกิจร้านจำหน่ายหนังสืออิเลคทรอนิกส์ (E-Book) ผ่านระบบออนไลน์ "เมพ" และ "เดอะวันบุ๊ค" และให้คำปรึกษาเรื่องการจัดทำ E-Book และการจัดหาอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง - -

กลุ่มฟู้ด[แก้]

ตราสัญลักษณ์ ลักษณะ จำนวนสาขา สาขาเรือธง
ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์
(บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด)
ตราสัญลักษณ์การค้าสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคหลักของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล มีร้านค้าในรูปแบบที่หลากหลาย ตอบสนองต่อทุกความต้องการของลูกค้าได้อย่างลงตัว 265 เซ็นทรัล ชิดลม
แฟมิลี่มาร์ท
(บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด)
เป็นเครือร้านสะดวกซื้อของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล เพื่อจำหน่ายสินค้าที่ตอบสนองต่อกลุ่มลูกค้าได้อย่างลงตัวและรวดเร็ว 1,008 สุขุมวิท 33
บิ๊กซี เวียดนาม
(EB Services Company Limited)
เป็นเครือข่ายการค้าสินค้าประเภทไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตหลักในเวียดนาม มุ่งเน้นการจำหน่ายสินค้าอาหารคุณภาพและสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำ 36
ลานชีมาร์ท
(Lan Chi Investment and Service Company Limited)
เป็นเครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กถึงกลางในพื้นที่ชานเมืองและชนบทของประเทศเวียดนามตอนเหนือ ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจของกลุ่มเซ็นทรัล รีเทล ในการนำเสนอสินค้าที่ตอบสนองต่อรสนิยมของลูกค้าโดยมุ่งเน้นการจัดหาสินค้าอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคคุณภาพชั้นนำจากในพื้นที่ 25

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ""จิราธิวัฒน์" พลิกเกมค้าปลีก ไอพีโอ 8 หมื่นล้าน โตก้าวกระโดด". ประชาชาติธุรกิจ. 20 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563. Check date values in: |access-date=, |date= (help)
  2. https://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=CRC&ssoPageId=6&language=th&country=TH
  3. http://robins.listedcompany.com/newsroom/260720192134510949T.pdf

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]