บูมเมอแรง (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
นี่เป็นเพียงข้อมูลบูมเมอแรงประเทศไทย สำหรับบูมเมอแรงข้อมูลศูนย์กลางดูที่ บูมเมอแรง (สถานีโทรทัศน์) บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูที่ บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บูมเมอแรง ไทย
Boomerang Thailand
Boomerang
ประเทศไทย
พื้นที่แพร่ภาพประเทศไทย
คำขวัญช่องการ์ตูนนานาชาติอันดับ 1 ช่องแรกที่ให้ทุกคนชมฟรี
สำนักงานใหญ่อาคารประชาช่าง ชั้น 4 30/2 ซอยนภาศัพท์ แยก 1 ถนนสุขุมวิท 36 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของเอ็ม เทิร์นเนอร์
ช่องรองการ์ตูนเน็ตเวิร์ค , ทูนามิ , เอ็ม แชนแนล
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (7 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์www.boomerangthailand.tv
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
เคเบิลทีวีท้องถิ่นN/A
ทีวีดาวเทียม
พีเอสไอ
ซีแบนด์
โอเค
ทรูทีวี

ช่อง 89
ช่อง 89
ช่อง 67
จีเอ็มเอ็มแซท
ซีแบนด์
เคยูแบนด์
ช่อง 65,89,101
ซันบ็อกซ์
ซีแบนด์
เคยูแบนด์
ช่อง 89
ดีทีวี
เคยูแบนด์
ช่อง 89
ไอพีเอ็ม
เคยูแบนด์
ช่อง 89
ไดนาแซต
ซีแบนด์
ช่อง 89
กลุ่ม บิ๊ก 4
อินโฟแซต
ไทยแซต
ไอเดียแซต
ลีโอเทค
ซีแบนด์
ช่อง 89

บูมเมอแรง ประเทศไทย (อังกฤษ: Boomerang Thailand) หรือมักเรียกกันว่า ช่องบูม เป็นสถานีโทรทัศน์การ์ตูนของประเทศไทย ออกอากาศภาคภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตโดย บริษัท เอ็ม เทิร์นเนอร์ จำกัด (ในเครือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ และ กันตนา กรุ๊ป) นำเสนอการ์ตูนที่เคยออกอากาศทางการ์ตูนเน็ตเวิร์คมาแล้ว มีรูปแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา ออกอากาศผ่านดาวเทียมTHAICOM 6A ผ่านกล่องรับสัญญาณที่มีระบบถอดรหัสสัญญาณ เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2556

ประวัติ[แก้]

บูมเมอแรงประเทศไทยเป็นสถานีโทรทัศน์เครือข่ายของบูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา เป็นช่องการ์ตูนคลาสิกที่แยกออกมาจากช่อง การ์ตูนเน็ตเวิร์ค ออกอากาศในเขตประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศฮ่องกง และส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม[1] มายังประเทศต่างๆในภูมิภาค

ในอดีต ช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เคยฉายการ์ตูนคลาสิกในยุค 60 - 90 เหมือนที่ช่องบูมเมอแรงฉายในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบัน การ์ตูนเน็ตเวิร์คได้นำการ์ตูนแอนิเมชั่นใหม่ ๆ เข้ามาฉาย จึงได้ตัดการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ ออก แต่การ์ตูนคลาสิกยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชม จึงได้เพิ่มช่วง บูมเมอแรง เป็นช่วงพิเศษในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 ซึ่งฉายการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ แต่เนื่องจากการ์ตูนนั้นมีมากมายหลายเรื่อง ไทม์ วอร์เนอร์ จึงเปิดช่องบูมเมอแรงเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยนำช่วงพิเศษบูมเมอแรงในการ์ตูนเน็ตเวิร์คออกมาทำเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องการ์ตูนช่องใหม่อย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับบูมเมอแรงประเทศไทย ผลิตเองโดยทีมงานชาวไทย เป็นการ์ตูนเก่าที่เคยออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ประเทศไทย ทางทรูวิชั่นส์มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นการ์ตูนทั้งหมดได้ตั้งชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและพากย์ไทยไว้แล้ว ซึ่งจะแตกต่างกับ การ์ตูนเน็ตเวิร์คเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ออกอากาศร่วมกันหลายประเทศ โดยรับสัญญาณภาพจากสถานีส่วนกลางจากฮ่องกงมาใส่เสียงพากย์ไทยเฉพาะในส่วนที่มีการพากย์ไว้ ส่วนที่ไม่ได้มีการพากย์ไว้จะเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอักษรแสดงบนหน้าจอจะเป็นภาษาอังกฤษ

รูปแบบการออกอากาศ[แก้]

รูปแบบการออกอากาศมีลักษณะเหมือนกับช่อง บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ เวลาการออกอากาศรายการละ 30 นาที มีโฆษณาระหว่างรายการ 2-3 ครั้ง มีการ์ตูนทั้งเป็นตอนสั้นจบในตอนเดียวและตอนยาวจบทั้งเรื่อง บางช่วงจะมีการ์ตูนสั้นแทรกระหว่างช่วงเปลี่ยนรายการ นำตอนสั้นจากการ์ตูนมาออกอากาศ ไม่เกินตอนละ 5 นาที มีโฆษณาสินค้าและตัวอย่างรายการในระหว่างรายการและช่วงเปลี่ยนรายการ แสดงภาพไอเดนท์ของสถานี (อังกฤษ: Ident) ระหว่างโฆษณา ก่อนเข้ารายการ หลังจบรายการ และแจ้งรายการปัจจุบันและรายการถัดไป

รายการที่ออกอากาศในบูมเมอแรงประเทศไทย[แก้]

การ์ตูนที่ออกอากาศในช่อง บูมเมอแรงประเทศไทย เป็นการ์ตูนเก่าที่เคยออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คและส่วนใหญ่ไม่มีในผังออกอากาศช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คแล้ว แต่ยังมีบางเรื่องที่ยังมีการออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์กอยู่ เช่น เดอะ ทอมแอนด์เจอร์รี่ โชว์ (อังกฤษ: the Tom & Jerry show), อ็อกกี้กับแก๊งแมลงสาบ, เบบี้ ลูนนี่ย์ ตูนส์, เบ็นเท็น, หมาน้อยผู้กล้าหาญ, รหัสลับเด็กข้างบ้าน, ฟอสเตอร์ โฮม..บ้านของผองเพื่อนในจินตนาการ, แคมป์ ลาซโล ชาวเดอร์, การผจญภัยสุดอัศจรรย์ของแฟลปแจ็ค เป็นต้น

การ์ตูน[แก้]

การ์ตูนที่ออกอากาศในปัจจุบัน[แก้]

การ์ตูนที่เคยออกอากาศในอดีต[แก้]

  • เดอะ ลูนี่ตูน โชว์ (อังกฤษ: The Looney Tunes Show)
  • การผจญภัยของ ซิลเวสเตอร์ และ ทวิสตี่ คดีลับ (อังกฤษ: The Sylvester & Tweety Mysteries)
  • แทช-แมนเนี่ยน (อังกฤษ: taz-mania)

รายการสาระความรู้[แก้]

  • Play Box กล่องหรรษา
  • Tiny Recipes อาหารจานจิ๋ว
  • Inventor Kids บ้านแห่งจินตนาการ
  • Science Lab แล็บของเด็กช่างคิด

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]