สรุปแผนทดสอบ Starship และ Super Heavy อีกครั้งพฤศจิกายน 2023
เป็นเวลากว่า 7 เดือนหลังจากที่การทดสอบจรวด Super Heavy และยานอวกาศ Starship ของ SpaceX ในเดือนเมษายน 2023 จบลงด้วยการกลายเป็นการแสดงพลุราคาแพงบนท้องฟ้าทางตอนใต้ของชายฝั่งเท็กซัส เนื่องจากตัวจรวดเสียการควบคุมในขณะบินขึ้นก่อนที่จะหักเป็นสองท่อนในที่สุด จนอาจทำให้เราสงสัยว่า SpaceX ซึ่งปัจจุบันเป็นบริษัทหนึ่งเดียวที่ได้รับสัญญาการว่าจ้าง นำนักบินอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ในโครงการ Artemis III ที่ถูกเลื่อนมาหลายต่อหลายครั้งนั้น จะพัฒนาจรวด Starship และ Super Heavy ให้บินขึ้นสู่อวกาศจริง ๆ ได้เมื่อไหร่ เราได้สรุปการทดสอบในครั้งก่อนไว้ในบทความ สรุปเที่ยวบินแรกของ Starship และ Super Heavy กับ สองปีนับถอยหลังสู่ดวงจันทร์ อย่างไรก็ตามในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2023 SpaceX ก็ได้ออกมาประกาศว่าพวกเขาได้รับไฟเขียวจาก FAA หรือองค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ ให้สามารถทดสอบ Starship และ Super Heavy ได้อีกครั้ง หลังจากที่ SpaceX ต้องรออนุมัติเป็นเวลานานพอสมควรหลังจากที่ได้มีการออกมากล่าวก่อนว่าพวกเขาพร้อมสำหรับการกลับมาบินอีกครั้ง โดยกำหนดวันทดสอบที่ประกาศ จะเป็นวันที่ 17 พฤศจิกายน […]
เมื่อ NASA เคยออกแบบให้ยานอวกาศลงจอดด้วยใบพัดแบบเฮลิคอปเตอร์
ทุกวันนี้เราเห็นการลงจอดของยานอวกาศด้วยร่มชูชีพ (Parachute) กันเป็นเรื่องชินตา ตั้งแต่การลงจอดของยานอวกาศลำใหญ่ที่มีมนุษย์โดยสารไปด้วย ยานอวกาศที่ใช้ในการขนส่งเสบียง ไปจนถึงแคปซูลสำหรับทำ Sample Return หรือนำตัวอย่างหินจากอวกาศกลับสู่โลก โดยยานอวกาศบางรุ่นอาจมีระบบ Soft Landing ที่ช่วยชุดระเบิดชะลอความเร็วในวินาทีสุดท้ายก่อนยานสัมผัสพื้น เช่น ยาน Soyuz ของรัสเซีย ในขณะที่ NASA ออกแบบให้ยานอวกาศทุกลำลงจอดบนน้ำเพื่อลดแรงกระแทก ภาพเช่นนี้ชินตามาตั้งแต่ยุค Apollo แต่รู้หรือไม่ NASA เองก็เคยออกแบบระบบการลงจอดของยานอวกาศให้ใช้ใบพัดเหมือนกันเฮลิคอปเตอร์ โดยอาศัยปรากฎการณ์ทางฟิสิกส์ที่เรียกว่า Auto-Rotation ที่ช่วยให้ใบพัดสามารถหมุนและชะลอความเร็วของยานอวกาศได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ รู้จัก Powered และ Un-Powered Landing กันก่อน ในบทความเรื่อง ประวัติศาสตร์ การบินบนดาวเคราะห์อื่นด้วยบอลลูน ที่ทำให้ Ingenuity ไม่ใช่อากาศยานลำแรก เราเคยอธิบายกันไปแล้วว่าจริง ๆ แล้วเทคนิคการนำอากาศยานมาใช้ในการสำรวจอวกาศนั้นมีหลากหลายมากกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะเป็นบอลลูนที่ถูกส่งไปสำรวจดาวศุกร์ การใช่ร่มชูชีพบนดาวที่มีอากาศ เช่น ดาวอังคาร หรือแม้กระทั่งดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ ที่เราจะนับว่าเป็น Un-Powered Flight หรือการบิน (หรือร่อนลง) ที่ไม่ต้องใช้พลังงานจากตัวยาน และการลงจอดหรือบินแบบ […]
JPL วางแผนแก้ปัญหาคราบเชื้อเพลิงตันบนยาน Voyager ต่ออายุการใช้งาน
เป็นเวลากว่า 46 ปีที่ยาน Voyager 1 และ 2 เดินทางออกจากโลก เพื่อทำภารกิจการเป็นยานอวกาศที่ไกลที่สุดที่มนุษย์เคยส่งออกไป ปัจจุบัน Voyager 2 อยู่ห่างออกจากโลกประมาณ 18,000 ล้านกิโลเมตร ในขณะที่ยาน Voyager 1 อยู่ห่างออกไปที่ระยะถึง 2,400 ล้านกิโลเมตร โดยยานอวกาศทั้งสองยังคงติดต่อกับโลกผ่านระบบ Deep Space Network แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้เรื่อย ๆ จนยานอวกาศทั้งสองอยู่รอดมาได้นานถึง 46 ปี ถามว่าเทคโนโลยีในยุค 70 นั้นเป็นอย่างไร คงไม่ต้องให้บอกว่าตอนนั้นคอมพิวเตอร์แทบจะเป็นสิ่งใหม่มาก ๆ Steve Jobs ยังไม่ก่อตั้ง Apple ยังไม่มีคำว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) รถยนต์ยังไม่ได้มีเทคโนโลยีล้ำยุค และเครื่องบิน Boeing 747 เพิ่งพัฒนาสำเร็จและเริ่มส่งมอบให้กับสายการบินต่าง ๆ ถ้าจะเปรียบเทียบ Voyager ทั้งสองก็อาจจะเปรียบได้เหมือนกับเครื่องบิน Boeing 747 ที่ถูกใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง […]
Latest Stories
Explore NASA Jet Propulsion Laboratory
บทความพิเศษ พาชม Jet Propulsion Laboratory (JPL) ต้นกำเนิดของภารกิจสำรวจอวกาศที่เราคุ้นเคย โรงเก็บโรเวอร์ ยานอวกาศ Europa Clipper ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประกอบ และห้องควบคุมภารกิจที่ปรากฎในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ด้านการสำรวจอวกาศหลาย ๆ เหตุการณ์
Podcast
Artemis Program
โครงการความร่วมมือนานาชาติ Artemis กับเป้าหมายการมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์ เพื่ออยู่ และเดินทางสู่อวกาศห้วงลึกต่อไป ติดตาม บทความ วิเคราะห์เจาะลึก สรุปทุกข้อมูล
Mars Exploration
Exoplanet Discoveries
Products Collection
เสื้อยืดของเรา มาจากแนวคิดที่ว่า คนที่ชื่นชอบอวกาศควรมีเสื้อยืดที่แสดงความเป็นตัวของตัวเองจริง ๆ ที่ไม่ใช่แค่เสื้อที่มีคำว่า NASA ที่ใส่กันเกลื่อนบ้านเมือง เราจึงใช้แนวคิดนี้มาผสมผสานกับเสื้อยืดดั้งเดิมของเราที่เป็นเพียงแค่โลโก้อย่างเดียว และสร้างเป็นเสื้อยืดที่แสดงความ Geek และ Nerd ของผู้สวมใส่
Historical Stories
Deep Space Exploration
Launch Vehicle
Demoratization
อวกาศกับการเป็นประชาธิปไตย การสร้างอวกาศให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
Space Business
ธุรกิจและอวกาศ โอกาสใหม่ ๆ อัพเดทเรื่องราวและบทวิเคราะห์
Space Culture
มองอวกาศผ่านมุมมองของวัฒนธรรม การสร้างวัฒนธรรมอวกาศ
Earth
มองโลกผ่านมุมมองของอวกาศ ความเปลี่ยนแปลงของโลก