“ดาวมันก็อยู่บนฟ้าของมันเป็นแสนเป็นล้านปี มีแต่เราเท่านั้นแหละที่ถีบตัวเองขึ้นไปหามัน” คำคนนี้คงจะเป็นคำที่บอกเล่าความกระหายรู้ในปริศนาบนฟากฟ้าที่บรรพบุรุษของเราสงสัยมานับตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นบนโลก บนท้องฟ้าที่มืดมิดระยะเวลาที่ผ่านไปทำให้เราเปลี่ยนจากเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นมาเท้าติดกับพื้นโลกมีโอกาสที่จะพุ่งทะยานขึ้นไปท่ามกลางดวงดาวและค้นหาความลับที่จักรวาลทิ้งเอาไว้ ในยุค 100 ปีที่ผ่านมานับว่าเป็นยุคทองแห่งการสำรวจอวกาศเลยก็ว่าได้ ถ้าจะพูดถึงสิ่งที่พาเราขึ้นสู่ท้องฟ้าอันมืดมิดเพื่อค้นหาความลับบนนั้น คงจะหนีไม่พ้นจรวด ยานพาหนะที่ถูกเติมด้วยเชื้อเพลิงหนักหลายตัน แบกเอาความฝัน ความหวัง ของมนุษย์ที่เป็นเชื้อเพลิงจุดมันขึ้นไปทำให้เราสามารถสำรวจทั่งในระบบสุริยะ และนอกระบบสุริยะ ดังเช่นยาน…

เมื่อเวลา 11:12 ที่ผ่านมา จรวด Long March 11 หรือชื่อจริงของมันคือ Chang Zheng 11 (長征十一號運載火箭) ได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศอย่างสำเร็จเรียบร้อย พร้อมกับนำดาวเทียมทั้งสิ้น 6…

ในขณะที่ SpaceX พยายามเก็บทุกชิ้นส่วนจรวด ตั้งแต่ First Stage จนไปถึงฝาครอบ Payload เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในโครงการ Reuseable Launch อีกฝากนึงของโลกที่จีนประเทศที่ชอบทิ้งคว้างชิ้นส่วนจรวดซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติของโครงการอวกาศ แต่กลับกันที่สไตล์พี่จีนทั้งที พี่แกไม่ได้แคร์คำว่าเขตชิ้นส่วนจรวดตกเลย คลิปวิดีโอล่าสุดจากมณฑลกวางสี…

FRB หรือ Fast Radio Bursts เป็นคำที่นักดาราศาสตร์วิทยุใช้เรียกปรากฏการคลื่นความเข้มข้นสูงที่เดินทางมาจากอวกาศ เขาตรวจวัดคลื่นเหล่านี้ได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ โดยเฉพาะจานรับสัญญาณขนาดใหญ่ที่เปโตริโก (ใครที่เคยดูเรื่อง Contact จะคุ้นกันดี) โดยปกติแล้วการเกิด FRB จะเกิดเป็นช่วงสั้น ๆ…

ในขณะที่กระสวยอวกาศ Atlantis เที่ยวบินที่ STS-125 ถูกติดตั้งไว้อยู่บนฐานปล่อย LC-39A เพื่อรอทะยานขึ้นไปทำภารกิจซ่อมบำรุงกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กระสวยอวกาศ Endeavour นั้นก็ถูกติดตั้งไว้บนฐานปล่อย LC-39B ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ต่างกันเพียงแค่ลูกเรือของภารกิจ…

Norishige Kanai นักบินอวกาศชาวญี่ปุ่นที่ในปัจจุบันกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติในภารกิจ Expedition 54/55 ได้ออกมาขอโทษผ่านทวิตเตอร์ของเขาในชื่อ @Astro_Kanai หลังจากได้เคยออกมาทวีตว่าตัวเองสูงขึ้นกว่า 9 เซนติเมตรในระยะเวลาเพียง 3 อาทิตย์บนสถานีอวกาศนานาชาติเท่านั้น

เมื่อเช้าของวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา SpaceX ได้ทำการปล่อยดาวเทียมลับโค้ดเนม Zuma รายละเอียดของดาวเทียมดวงนี้ไม่มีการเปิดเผย ไม่มีใครรู้ว่าดาวเทียมดวงนี้ชื่ออะไร หรือเดินทางไปยังวงโคจรใด แต่ความพีคของภารกิจนี้ก็คือทาง @pbdes บล็อกเกอร์สายอวกาศของต่างประเทศได้รับแจ้งจากวงในมาว่าเป็นไปได้ว่าแม้กระทั่งผู้จ้างวานปล่อยก็ไม่รู้เช่นกันว่าดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่ไหน หรือพูดง่าย ๆ ก็คือดาวเทียมหายขาดการติดต่อนั่นเอง (ฮา) ภารกิจของ…

SpaceX ได้ปล่อยดาวเทียมลับ (โค้ดเนม : Zuma) ขึ้นสู่วงโคจรจากฐานปล่อยที่ 40 ของ Cape Canaveral, รัฐฟลอริดา, ประเทศสหรัฐอเมริกาสำเร็จ และยังสามารถกลับมาลงจอดยัง LZ-1 ได้สำเร็จอีกด้วย

เฉพาะแค่ในปี 2017 ที่ผ่านมานี้ มีการปล่อยจรวดจากพื้นโลกสู่ห้วงอวกาศไปแล้วทั้งสิ้น 90 ครั้ง และได้มีการประเดิมใช้งานจรวดตัวใหม่จากหลายประเทศ รวมทั้งการปลดประจำการจรวดบางรุ่นลงไป มีทั้งที่สำเร็จลุล่วงและล้มเหลว มีถึง 7 ประเทศที่ได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปเป็นดวงแรกของตน ในวันนี้ทีมงาน Spaceth.co จะพาทุกท่านย้อนไปดูว่าตลอดทั้งปีที่ผ่านมาว่าแต่ละประเทศได้ส่งจรวดสัญชาติของตนขึ้นสู่อวกาศทั้งสิ้นกี่ครั้งกันแล้ว…