ภาษี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษี (อังกฤษ: tax, มาจากภาษาละติน taxo, "ข้าประเมิน") เป็นเงินหรือสิ่งของอื่นที่รัฐหรือสถาบันปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากผู้เสียภาษี ซึ่งอาจเป็นปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้ กฎหมายมีบทลงโทษผู้ที่ไม่เสียภาษี ระบอบต่ำกว่ารัฐ (subnational entity) จำนวนมากยังมีการเรียกเก็บภาษีเช่นกัน ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และอาจจ่ายเป็นรูปตัวเงินหรือการใช้แรงงานที่เทียบเท่า (มักเป็นการใช้แรงงานที่ไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่เสมอไป)

ภาษีอาจนิยามได้ว่า "ภาระที่เป็นตัวเงินซึ่งตกแก่ปัจเจกบุคคลหรือเจ้าของทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนรัฐบาล [...] เป็นการชำระซึ่งเรียกเอาจากองค์การใช้อำนาจนิติบัญญัติ"[1] ภาษี "มิใช่การจ่ายด้วยใจสมัครหรือการบริจาค แต่เป็นการอุดหนุนที่ถูกบังคับ โดยเรียกเอาจากองค์การใช้อำนาจนิติบัญญัติ" และเป็น "การอุดหนุนใด ๆ ซึ่งรัฐบาลเรียกเก็บ" ไม่ว่าจะอยู่ในรูปค่าผ่านทาง บรรณาการ ภาษีผู้เช่า (tallage) อากรสรรพสามิต ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากร เงินอุดหนุน เป็นต้น[1]

ภาพรวม[แก้]

นิยามทางกฎหมายและเศรษฐกิจของภาษีแตกต่างกันตรงที่นักเศรษฐศาสตร์ไม่พิจารณาว่าการเคลื่อนย้ายทรัพยากรหลายอย่างไปยังรัฐบาลเป็นภาษี ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรบางอย่างเคลื่อนย้ายไปยังภาครัฐบาลนั้นเทียบได้กับราคา เช่น ค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยของรัฐและค่าธรรมเนียมซึ่งจัดหาให้โดยรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลยังได้ทรัพยากรมาโดยการผลิตเงิน (เช่น การพิมพ์ธนบัตรและผลิตเหรียญกษาปณ์), ผ่านของกำนัลโดยสมัครใจ (เช่น การอุดหนุนมหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์ของรัฐ), โดยการกำหนดบทลงโทษ (เช่น ค่าปรับจราจร), โดยการกู้ยืม และโดยการยึดทรัพย์สิน จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ภาษีนั้นไม่เกี่ยวกับการลงโทษตามกฎหมาย แต่กระนั้น การบังคับเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากเอกชนไปยังภาครัฐบาลก็ยังเรียกเก็บจากพื้นฐานของเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและโดยไม่อ้างอิงถึงประโยชน์ที่ได้รับโดยเฉพาะ

ในระบบการเก็บภาษีสมัยใหม่ ภาษีจะเก็บในรูปตัวเงิน แต่ภาษีอย่างเดียวกัน (in-kind) และแรงงานเกณฑ์ (corvée) เป็นลักษณะของการจัดเก็บภาษีในรัฐและท้องถิ่นโบราณหรือก่อนทุนนิยม วิธีการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายเงินภาษีของรัฐบาลมักเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างมากในการเมืองและเศรษฐศาสตร์ กรมสรรพกรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้จัดเก็บภาษี หากไม่จ่ายภาษีเต็มจำนวน อาจมีการกำหนดบทลงโทษทางแพ่ง (เช่น การปรับหรือการริบทรัพย์) หรือทางอาญา (เช่น การกักขัง) ต่อปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลนั้น

ประเภทของภาษีในประเทศไทย[แก้]

ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากร จัดเก็บมี 5 ประเภท [2] คือ

และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น ได้แก่

  • ภาษีป้าย
  • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  • ภาษีบำรุงท้องที่

กรมสรรพสามิตก็เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการบางประเภทที่ต้องการควบคุม เช่น สุรา ยาสูบ น้ำหอม

นอกจากนี้ กรมศุลกากรก็มีการเรียกเก็บภาษีศุลกากร เป็นค่าธรรมเนียมของการนำสินค้าบางชนิดเข้าประเทศ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Black's Law Dictionary, p. 1307 (5th ed. 1979).
  2. http://www.account.co.th/view-news.php?itemid=49