วิกิพีเดีย:สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เว็บย่อ:
แนวปฏิบัติ
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
พฤติกรรม
สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ
ผลประโยชน์ทับซ้อน
มารยาท
โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่
ลายเซ็น
หน้าผู้ใช้
เนื้อหา
อัตชีวประวัติ
การอ้างอิงแหล่งที่มา
แหล่งข้อมูลอื่น
การใส่ภาพ
ไม่ต้องกลัวเสียอรรถรส
การแก้ไข
ขอให้กล้า
คำอธิบายอย่างย่อ
ต้องมีเนื้อหาอย่างชัดเจน
ความสำคัญของเนื้อหา
เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม
แนวทางการเขียน
คู่มือในการเขียน
เขียนบทความให้ดียิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

การสันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ เป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของวิกิพีเดีย มีใจความว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการแก้ไขและความเห็นของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมนั้นทำไปโดยสุจริตใจ คนส่วนใหญ่พยายามช่วยโครงการ มิใช่ทำลาย เพราะหากความคิดนี้ผิด โครงการอย่างวิกิพีเดียคงชะตาขาดตั้งแต่ต้นแล้ว แนวปฏิบัตินี้ไม่ได้กำหนดให้ผู้เขียนยังเชื่อว่าผู้ใดสุจริตใจ หากมีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่าผู้นั้นมีเจตนาตรงกันข้าม (การก่อกวน) การเชื่อว่าผู้อื่นสุจริตใจนั้นไม่ได้ห้ามการอภิปรายและการวิพากษ์วิจารณ์ แต่ผู้เขียนไม่ควรถือเอาว่าพฤติการณ์เช่นว่าเป็นการปองร้าย (malice) เว้นแต่มีหลักฐานแสดงการปองร้ายชัดเจน

เมื่อเกิดความไม่ลงรอยขึ้น พยายามอย่างถึงที่สุดเท่าที่ความสามารถของคุณเอื้ออำนวยในการอธิบายและแก้ไขปัญหา มิใช่สร้างความขัดแย้งมากขึ้น และให้โอกาสผู้อื่นในการตอบอย่างเดียวกัน คิดเสียว่าข้อพิพาทนั้นเกิดจากมุมมองที่เห็นต่าง และมองหาหนทางที่นำไปสู่มติมหาชน (consensus)

เมื่อมีความข้องใจเรื่องความสุจริตใจ ให้คุณยังคงเชื่อว่าคนอื่นสุจริตใจตราบที่คุณทำได้ ประพฤติเยี่ยงอารยชนและดำเนินตามกระบวนการแก้ไขข้อพิพาท แทนที่จะโจมตีผู้อื่นหรือกระโจนเข้าร่วมสงครามแก้ไขกับเขาด้วย หากคุณต้องการแสดงความข้องใจในพฤติกรรมของสมาชิกวิกิพีเดียด้วยกัน โปรดพิสูจน์ความข้องใจนั้นด้วยการแสดงความแตกต่างระหว่างรุ่น (diff) และหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกันให้ชัดเจน เพื่อที่ผู้อื่นจะได้เข้าใจถึงรากฐานแห่งความข้องใจของคุณ แม้พฤติกรรมเลวร้ายอาจดูเหมือนว่าเป็นเพราะไม่สุจริตใจ แต่โดยปกติแล้วจะเป็นการดีที่จะเอ่ยถึงพฤติกรรมนั้นโดยไม่พาดพิงถึงแรงจูงใจ ซึ่งอาจทำให้ความขุ่นเคืองยิ่งทวีความเลวร้ายลงไปอีก

พึงระวังไม่อ้างหลักการนี้อย่างก้าวร้าวเกินไป ด้วยว่าผู้หนึ่งผู้ใดอาจตัดสินคนอื่นว่ามีพฤติการณ์ไม่สุจริตใจอย่างไม่ถูกต้องฉันใด ผู้หนึ่งผู้ใดก็อาจสรุปว่าคนหนึ่งสันนิษฐานอีกคนหนึ่งว่าไม่สุจริตใจได้ผิดฉันนั้น และการแนะนำอย่างจริงจังให้ "เชื่อว่าคนอื่นสุจริตใจ" ก็อาจสะท้อนการสันนิษฐานในแง่ลบต่อผู้อื่นหากการสันนิษฐานไม่สุจริตใจที่รับรู้นั้นไม่เป็นที่ชัดเจน

การรับมือกับความไม่สุจริตใจ[แก้]

แม้เมื่อมีหลักฐานแสดงความไม่สุจริตใจอย่างชัดเจน อย่าประพฤติเยี่ยงอนารยชนตอบ โจมตีผู้อื่น หรือสูญเสียความสงบเยือกเย็น เพราะท้ายที่สุดจะง่ายกว่ามากสำหรับผู้อื่นในการแก้ไขข้อพิพาทและมองเห็นว่าใครเป็นผู้ละเมิดนโยบาย หากมีฝ่ายหนึ่งประพฤติตนอย่างเหมาะสมตลอดเวลา

ผู้ดูแลระบบวิกิพีเดียและผู้เขียนมากประสบการณ์คนอื่นที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขข้อพิพาทล้วนยินดีจะช่วยเหลือ และสามารถอย่างยิ่งในการระบุพฤติกรรมที่ละเมิดนโยบายหากพวกเขาได้เห็นหลักฐานที่ชัดเจนและชี้เฉพาะ

การกล่าวหาว่าผู้อื่นไม่สุจริตใจ[แก้]

แม้สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจจะกำกับโดยนโยบายวิกิพีเดีย แต่ก็ไม่มีนโยบายร่วมกันที่กำหนดให้ผู้เขียนต้องประพฤติตนสุจริตใจดังนั้น การกล่าวหาว่าผู้อื่นไม่สุจริตใจจึงไม่มีประโยชน์อะไรเลย การกล่าวโทษนี้ยังเร้าโทสะและอาจทำให้ข้อพิพาทนั้นเลวร้ายลงไปอีก นอกจากนี้ยังอาจถูกมองว่าเป็นการโจมตีต่อส่วนตัวได้ หากมีการกล่าวหาแรงจูงใจความไม่สุจริตใจโดยปราศจากหลักฐานชัดเจนว่าการกระทำของผู้อื่นนั้นไม่สุจริตใจและก่อกวนหากทำหลายครั้ง ผลคือ บ่อยครั้งที่การกล่าวหาว่าผู้อื่นไม่สุจริตใจนั้นคุณเป็นผู้ริเริ่มเสียเอง ซึ่งมีแนวโน้มสร้างวัฏจักรอันไม่น่าพอใจ

ดูเพิ่ม[แก้]