ลักษณะพิเศษ

WordPress SEO Plugin ที่ดีที่สุด

ทดสอบ wordpress seo กับ plugin Greg’s high performance seo

การตั้งค่า seo ให้กับเว็บ wordpress ของคุณ โดยการใช้ plugin Greg’s high performance seo
ตั้งค่า Permalink

ตั้งค่า theme

เปิดใช้ plugin

เสร็จ – -‘ จะง่ายไปรึเปล่า

การตั้งค่า seo เฉพาะบทความก็สามารถทำได้เหมือนกับ ปลั๊กอินตัวอื่น ๆ

เนื่องจาก plugin ตัวนี้มีการตั้งค่า default การใช้มาแล้ว จึงขอลองใช้ค่าแบบ default ดูเพื่อว่าการตั้งค่า default นั้นจะใช้งานได้ดีแค่ไหน
แล้วเรามาดูผลกัน

post นี้เป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง wordpress seo plugin

เพลงสรรเสริญพระบารมี

รศ.ดร.ดวงมน จิตรจำนงค์ อาจารย์ภาควิชาภาษาไทยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เมธีอาวุโส สกว.สาขาวรรณคดี ปี 2547 อีกทั้งยังเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยดีเด่นประจำปีล่าสุด มาถอดรหัสความหมาย เพลงนี้มีความหมายที่ดีและลึกซึ้งมากๆ ที่ละประโยค “ข้าวรพุทธเจ้า… หมายถึง ข้าพเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเป็นข้าของพระองค์ผู้ประดุจดังพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าในที่นี้ก็คือ เป็นผู้ตรัสรู้และโปรดมวลมนุษย์ให้บรรลุธรรม ให้พ้นจากกิเลส เพราะในมโนทัศน์ของไทยโบราณถือว่ากษัตริย์คือพระโพธิสัตว์

เอามโนและศิระกราน… หมายถึง ขอเอาดวงใจและศีรษะก้มน้อมกราบ

นบพระภูมิบาล บุญดิเรก… หมายถึง ขอนบไหว้พระผู้ปกครองแผ่นดิน ผู้มีบุญญาธิการอันใหญ่หลวง

เอกบรมจักริน… หมายถึง ทรงเป็นวงศ์แห่งพระจักรีอันประเสริฐ

พระสยามินทร์… หมายถึง เป็นผู้เป็นใหญ่แห่งสยาม

พระยศยิ่งยง… หมายถึง เกียตริยศของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่และยืนนาน

เย็นศิระเพราะพระบริบาล… หมายถึง พวกเราจึงร่มเย็นด้วยการปกครองของพระองค์

ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์… หมายถึง พระคุณของพระองค์มีผลรักษาปวงประชาให้เป็นสุข

ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด… หมายถึง ขอพระคุณนั้น บันดาลให้สิ่งที่พระองค์ประสงค์สำเร็จตามความปรารถนา

จงสฤษฎ์ดัง หวังวรหฤทัย… หมายถึง ขอให้ได้ดังใจหวัง

ดุจถวายชัย ชโย…หมายถึง ดังที่ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัย

“สำหรับความหมายรวมก็คือ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอกราบไว้พระองค์ผู้มีบุญญาธิการ ซึ่งพระองค์ที่ปกครองปวงชนให้เป็นสุข ด้วยใบบุญของพระองค์ประชาชนจึงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงขอบันดาลให้พระองค์สมประสงค์ในทุกสิ่ง เป็นการถวายพระพรชัยแด่พระองค์”

ทั้งนี้ อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย ย้ำว่าคนที่รู้ความหมายของเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อร้องเพลงความรู้สึกจะรับรู้ได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาของความผาสุกของแผ่นดิน เขาก็จะเกิดความจงรักภักดี และซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ แต่ถ้าใครที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เหมือนกับว่าชินแล้วก็อาจจะไม่ค่อยได้คำนึงถึงความหมาย

“ถามว่าความหมายของเพลงเป็นข้อจำกัดไหม จริงๆ อยากจะบอกว่าเวลาร้องเพลงก็จะเกิดความซาบซึ้ง แต่ว่าความซาบซึ้งมันก็คงว่าด้วยการศึกษา ซึ่งเราคงไม่โทษเด็ก แต่คงเป็นระบบการศึกษามากกว่า ว่าเขาสอนกันยังไง บางทีครูใช้อำนาจบังคับมากก็ไปกันใหญ่ เด็กและวัยรุ่นไม่ชอบการบังคับ ดังนั้นควรที่จะสร้างสติปัญญาและสร้างความแข็งแกร่งของจิตวิญญาณให้พวกเขาเข้าใจในเพลงนี้จะดีกว่าเพราะเพลงนี้นับได้ว่ายิ่งใหญ่และมีความไพเราะ ที่สำคัญยังสร้างความเป็นเอกภาพ และเป็นศูนย์รวมของจิตใจของคนไทยด้วย เวลาที่เราร้องเพลง เรารู้สึกภูมิใจ เพราะเราเข้าใจความหมาย สมมติว่าเราฟังเพลงทุกวันนี้ถ้าเข้าใจความหมาย ก็จะซาบซึ้งกับเพลงนั้น เหมือนวัยรุ่นในปัจจุบันที่ฟังเพลงแล้วชื่นชอบ”

สุดท้าย สุดยอดนักภาษาไทยของเมืองไทยกล่าวเคล็ดลับทิ้งท้ายด้วยว่า เวลาจะร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี หรือเพลงใดก็แล้วแต่ คนที่ร้องก็ต้องเข้าใจความหมายที่แท้จริงของเพลงด้วย เพลงนั้นถึงจะซาบซึ้งไปถึงจิตใจของเรา

เพลงบุหลันลอยเลื่อน

บุหลันลอยเลื่อน (1)

ครั้งบทเพลงมหาชัยเป็นส่วน
หนึ่งที่ทําให้งานพระราชทาน
ถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ําจบลงอย่าง
สมบูรณ์แบบ และเป็นภาพประวัติศาสตร์
อันงดงามในความทรงจําของทุกคนแล้ว
หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคย หรือเคย
ได้ยินกันมาบ้าง แต่ไม่รู้จักวิธีเปิดใช้ วันนี้
จึงได้ขอแนะนําบทเพลงเกียรติยศ ที่ใช้กัน
อยู่บ่อยๆ ให้ได้เข้าใจถ่องแท้มากยิ่งขึ้น
บทเพลงเกียรติยศ ในที่นี้หมายถึง
เพลงที่เกี่ยวข้องในพิธีกรรม
เพลงใน
พระราชพิธี ราชพิธีและพิธีการ นอกจากนี้
ยังเป็นเพลงที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ของ
ชาติซึ่งมีความสําคัญต่อประวัติศาสตร์ของ
แผ่นดินจะบรรเลงก็ต่อเมื่อเป็นเกียรติแก่
บุคคลสําคัญของชาติในอดีตเพลงเกียรติ
ยศหมายถึงเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อ
ถวายเกียรติยศต่อพระมหากษัตริย์ โดยสืบ
ทอดธรรมเนียมนี้มาแต่สมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ซึ่ง
ครั้งนั้นเรียกเพลงสรรเสริญพระบารมีว่า
“เพลงบุหลันลอยเลื่อน”
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
5 เพลง
ประจําชาติมีบทบาทสําคัญมากขึ้น เนื่อง
จากเป็นเพลงที่แสดงความเป็นชาติ ความ
เป็นเอกราช ความเจริญและวัฒนธรรม
ของชาติ ซึ่งเพลงสรรเสริญพระบารมียังทํา
หน้าที่เป็นเพลงชาติในเวลาเดียวกันด้วย

เมื่อ
บทเพลงเกียรติยศ
เพลงมหาฤกษ์
เป็นเพลงหน้าพาทย์อยู่ในเรื่องทําขวัญ
ทํานองเพลงนางนาคซึ่งเป็นทํานองเก่าตั้ง
แต่สมัยอยุธยา
เคยใช้ในพิธีไหว้ครูโขนละคร
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้า
บริพัตรสุขุมพันธ์
กรมพระยานครสวรรค์วรพินิต
ทรงนิพนธ์ดัดแปลงเป็นทางฝรั่งใช้ใน
โอกาสฤกษ์พิธี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชดํารัสให้ใช้เป็น
เพลงเกียรติยศ
เช่น
ประธานกล่าวเปิดงาน
การกล่าวอวยพร
เปิดแพรคลุมป้าย
เปิด
อนุสาวรีย์
อวยพรงานแต่งงาน
รับส่งประธานในพิธี
ฯลฯ
เพลงมหาชัย
ทํานองเดิมเป็นเพลงหน้าพาทย์ในเพลงเรื่องทําขวัญ บรรเลงโดยวงปี่พาทย์ ใช้ใน
กิจพิธีมงคลประกอบการแสดงละคร ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรม
พระนริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเรียบเรียงทํานองทางฝรั่งขึ้นเมื่อปี
พ.ศ.2433
ซึ่งขณะนั้นทรง
เป็นเสนาบดี กระทรวงกลาโหม
ทรงมอบให้พระยาวาทิตบรเทศ (ชิด เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา)
เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน เพื่อบรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศสําหรับพระบรมวงศานุวงศ์
ชั้นผู้ใหญ่ นายกรัฐมนตรี เป็นต้น
เพลงสรรเสริญพระบารมี
เป็นเพลงรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรม
ราชินีนาถ หรือผู้แทนพระองค์ ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ นักประพันธ์ชาวรัสเซีย
นํามาบรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2431 หน้ากรมยุทธนาธิการ
กระทรวง
กลาโหมปัจจุบัน แต่เดิมเพลงนี้ไม่มีทํานองแน่นอน ทุกเพลงที่นักดนตรีบรรเลงเฉลิม
พระเกียรติรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกกันว่าเพลงสรรเสริญพระบารมี
ต่อมาเมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีมีทํานองที่แน่นอนจึงมีเพลงประพันธ์ขึ้นเฉพาะใช้
บรรเลงสําหรับพระมหากษัตริย์ และผู้แทนพระองค์ ในสมัยที่พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้มีการประกาศระเบียบการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
เพลง
ชาติลงวันที่
4
ก.พ
.
2478
และมีประกาศของสํานักพระราชวัง
เรื่องระเบียบการบรรเลง
ดุริยางค์
ในพระราชพิธี
และพิธี
หรือพิธีการต่างๆ
ลงวันที่
26
ตุลาคม
2514
เพลง
สรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบัน จึงเป็นเพลงที่มีทํานอง คําร้อง
และระเบียบการ
ใช้เฉพาะเป็นเพลงเกียรติยศที่ใช้ในพระราชพิธีและพิธีที่แสดงความเคารพต่อพระเจ้า
แผ่นดินเท่านั้น
เพลงชาติ
เป็นเพลงประจําชาติ
เพลงที่แสดงถึงความมีเอกราชของชาติใช้บรรเลงเพื่อเชิญ
ธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา และเชิญธงชาติลง บรรเลงเพลงชาติเป็นตัวแทนชาติ เมื่อมีกิจกรรม
ต่างๆ ในระดับชาติก็จะนําเอาเพลงชาติมาบรรเลงเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติ
ประพันธ์ทํานองและเรียบเรียงเสียงประสานโดยพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ
วันที่
4
ก.ค.
2475

เพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย

คำว่า “เพลงสรรเสริญพระบารมี” (อังกฤษ: Royal anthem) โดยการแปลเทียบเคียงจากชื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีของไทย (แปลตามตัวว่า เพลงยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์) เพลงชนิดนี้เป็นเพลงปลุกใจชนิดหนึ่ง โดยมากจะคล้ายคลึงกับเพลงชาติ แต่มักใช้กับบรรดาพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ต่างๆ โดยเฉพาะ เนื้อหาของเพลงมักเป็นไปในทางถวายพระพรแด่สถาบันพระมหากษัตริย์

เพลงประเภทนี้นิยมบรรเลงในยามที่พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์เสด็จออกในที่สาธารณะ เช่น การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ การเสด็จออกมหาสมาคม และการเสด็จพระราชดำเนินในที่ต่างๆ อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในวาระโอกาสสำคัญของพระราชวงศ์ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เป็นต้น

เพลงสรรเสริญพระบารมี (help·info) เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ เดิมทีเพลงสรรเสริญพระบารมีใช้เป็นเพลงประจำชาติของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431 – 2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ของไทย ทำนองโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย(บ้างก็ว่าเป็นครูเพลงชาวฮอลันดาชื่อ เฮวุดเซน[) ประพันธ์เมื่อ พ.ศ2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ในตอนแรกคำร้องดังกล่าวในท่อนสุดท้าย ใช้คำว่า ฉะนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า ฉะนี้ เมื่อร้องตามทำนองของเพลงแล้ว คนมักจะออกเสียงเพี้ยนเป็นคำว่า ชะนี ทำให้พระองค์ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงเปลี่ยนจากคำว่า ฉะนี้ เป็น ชโย ซึ่งแผลงมาจากคำว่า ไชโย และ ชย

ประวัติ

เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น

แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีการใช้เพลง God Save the King ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า “เพลงจอมราชจงเจริญ”

จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง God Save the King บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง God Save the King

คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 จนถึง พ.ศ. 2431 (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6

ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับที่เป็นผลงานของ ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่าฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติไทยอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว

Costa Coffee ร้านกาแฟสำหรับผู้หลงไหลในรสชาติกาแฟ

ร้านกาแฟ

คอกาแฟตัวจริงเสียงจริงจะต้องรู้จักกาแฟพรีเมียมจากประเทศอังกฤษ “คอสต้า ค็อฟฟี่” (Costa Coffee) ที่บินลัดฟ้าจากกรุงลอนดอนมาเปิดร้านสาขาแรกในประเทศไทย ที่ถือเป็นเรือธงในการเข้ามาสู่ตลาดของประเทศไทย ที่ Food Hall ชั้น G สยามพารากอน ซึ่งร้านนี้ถือว่าเป็นสาขาที่ 1,000 ของร้านกาแฟ costa coffee ทั่วโลก จุดเด่นของ Costa Coffee จะอยู่ที่ความเข้มข้นของกาแฟ “มอคคาอิตาเลีย” เมล็ดกาแฟซึ่งผ่านกระบวนการบดและคั่วด้วยสูตรเฉพาะของ costa coffee ทำให้ลูกค้าในอังกฤษต่างพากันหลงไหลในรสชาติที่เข้มข้นต่างจากกาแฟทั่วไป

บรรยากาศภายในร้านของ Costa coffee ก็ยังเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ในร้านยังออกแบบให้เปิดโล่งเพื่อแสดงการทำกาแฟในแต่ละขั้นตอนของบาริสต้าของเรา ซึ่งลูกค้าจะรู้สึกได้ถึงความพิถีพิถันและเอาใจใส่ในการทำกาแฟ ให้ความรู้สึกพรีเมี่ยมในทุกแก้ว นอกจากนี้ ยังมีเมนูซิกเนเจอร์แปลกใหม่มากมาย เช่น เครื่องดื่มสำหรับเด็ก Babycino และ Chocolate Babycino พิเศษสุดเฉพาะเมืองไทยมีขนมอร่อยๆให้ทานคู่กาแฟรสกลมกล่อม น่าชิม อาทิเช่น พายไก่ พายเนื้อ เค้กมะพร้าวครีมสด และอื่น ๆ อีก มาสัมผัสกับกาแฟรสชาติอังกฤษแท้ได้ที่ร้าน Costa cofee

การทดสอบ seo plugin ร้านกาแฟ